เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปชญฺญํ ได้แก่ ความรู้ตัว. บทว่า สมฺปชญฺญํ นี้เป็น
ชื่อแห่งปัญญา. บทว่า สมฺปชานสฺส ได้แก่ผู้รู้ตัวอยู่.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาปมิตฺตตา ความว่า มิตรชั่ว คือลามก มีอยู่แก่ผู้ใด
ผู้นั้นชื่อว่ามีมิตรชั่ว. ความมีมิตรชั่ว ชื่อว่า ปาปมิตตตา
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว. คำว่า ปาปมิตตตา นี้ เป็นชื่อของขันธ์ 4
ที่เป็นไปโดยอาการนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในบรรดา
ธรรมเหล่านั้น ความเป็นผู้มีมิตรชั่วเป็นไฉน ? บุคคลเหล่าใด เป็น
ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีสุขน้อย เป็นผู้ตระหนี่ เป็นผู้มี
ปัญญาทราม การเสพ การอาศัยเสพ การส้องเสพ การคบหา
การสมคบ ความภักดี ความจงรัก บุคคลเหล่านั้น ความมีบุคคลเหล่านั้น
เป็นเพื่อนนี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาวิริยาภัมภาทิวรรคที่ 7

กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ 8



ว่าด้วยความมีมิตรดีเป็นเหตุให้กุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นต้น



[72] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลมีมิตรดี กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[73] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ
ไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการ
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ เพราะการไม่ประกอบกุศลธรรม
เนือง ๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[74] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ
การไม่ประกอบอกุศลเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการ
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ เพราะการไม่ประกอบอกุศลธรรม